tanuna11

เข้าร่วม: 28 Feb 2005 ตอบ: 299
|
ตอบเมื่อ: Wed Mar 16, 2005 9:48 pm เรื่อง: ระนาดเทียบเสียงสากลแตกต่างจากตะเลงอย่างไร |
|
|
โดยปรกติแล้วเรายังคงไม่สามารถสรุปได้ว่าระนาดถือกำเนิดมาจากประเทศไหนหรือส่วนใดของโลกซึ่งแต่ละประเทศที่เขามีใช้อยู่ต่างก็บอกว่าเป็นของบรรพบุรุษตนเองไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว เขมร หรือแม้กระทั่งแอฟริการวมถึงประเทศไทยของเราด้วยแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือสำเนียงแต่ละประเทศนั้นต่างกันแล้วก็มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองซึ่งของประเทศไทยเองก็มีสำเนียงที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจนซึ่งเราจะต้องรักษาเสียงหรือสำเนียงนี้จนถึงที่สุดให้ลูกหลานได้เรียนรู้ถึงสำเนียงไทยแท้ๆอย่าให้เลือนหายเราจะได้ยินเสียงหรือสำเนียงนี้จากระนาดไทยเท่านั้น
แต่ปัจจุบันมีการนำเอาระนาดมาเทียบเสียงเป็นแบบสากลแล้วนำมาเล่นเพลงไทยโดยไม่คิดว่าสำเนียงเดิมจะเสียไปหรือเปล่านี่สิน่าเป็นห่วงเพราะด้วยความพยายามที่จะนำเสนอเข้ากับดนตรีสากลเมื่อไปแสดงยังต่างประเทศเขาก็จะไม่ได้รับสำเนียงไทยแท้ๆเลยจะเป็นไทยก็ไม่แท้จะเป็นสากลก็ไม่ชัดเพราะมีโน้ตแค่ 7 ตัวซึ่งบันไดเสียงสากลต้องมี 12 ครึ่งเสียงมันก็เลยเล่นได้ไม่สมบูรณ์เพียงแต่เอารูปแบบความเป็นระนาดมาปิดบังแล้วนำเสนอในสำเนียงที่ผิดไปจากของเดิม
ตะเลงเป็นอย่างไรตะเลงคือคนไทยเชื้อชาติไทยเพราะเกิดขึ้นโดยคนไทยแต่สัญชาติเป็นสากลซึ่งจะบอกโดยชัดเจนว่าเราจะเล่นเพลงที่ไม่ใช่สำเนียงไทยซึ่งก็หมายความว่าเพลงใดๆที่แต่งขึ้นด้วยโหมดหรือโครงสร้างไทยเดิมเราจะไม่เล่นจะได้ไม่เกิดความสับสนกับเด็กยุคใหม่เราจะเล่นแต่เพลงที่มีโครงสร้างทางเสียงเป็นสากลเท่านั้นและเราก็ทำได้แล้วเพราะเราสามารถเล่นได้ทุกบันไดเสียงไม่เหมือนกับระนาดเทียบเสียงสากลอีกอย่างที่ผู้ประดิษฐ์ต้องเรียกว่าตะเลงนั้นเพราะว่านำเสียงของระนาดไทยมาใช้เรียกนั่นเองและเป็นการแยกให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
ถ้าจะตีระนาดต้องใช้สำเนียงไทยซึ่งก็หมายความว่าถ้านำไปตีเพลงสากลต้องเพี้ยนเสียงแน่ๆ
ถ้าอยากได้เสียงของระนาดและตีเพลงสากลทั่วโลกต้องตี ตะเลง
ซึ่งรูปแบบยังรักษาไว้ซึ่งความเป็นไทยทั้งหมด
สอบถามรายละเอียดที่ 01 6125074 |
|