อ่านหัวข้อก่อนหน้า :: อ่านหัวข้อถัดไป |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
คีตะ

เข้าร่วม: 26 Feb 2005 ตอบ: 699
|
ตอบเมื่อ: Sat May 07, 2005 12:48 pm เรื่อง: ประกวดเดี่ยวปี่ใน เพลงพัดชา งานวันสุนทรภู่จังหวัด ระยอง |
|
|
โย่ววววววววว ติดตามรายละเอียดที่แน่นอนนนนนน วันหน้าครับผม วันนี้ยังหาม่ายเจอเลยยยย _________________ สยามมิวสิก้า +_+ สังคมดนตรีชาวสยาม |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
new2007
เข้าร่วม: 26 Feb 2005 ตอบ: 40
|
ตอบเมื่อ: Mon May 09, 2005 2:49 pm เรื่อง: |
|
|
หาเจอเมื่อไหร่ช่วยส่งข่าวด้วยนะคับพี่คีตะ รายการนี้น่าสนใจ |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
คีตะ

เข้าร่วม: 26 Feb 2005 ตอบ: 699
|
ตอบเมื่อ: Thu May 12, 2005 12:50 am เรื่อง: |
|
|
หนังสือที่ส่งมาผมทำหาย ตอนตั้งคณะกรรมการ ผมมัวยุ่งกับการทำผลงานเรื่องเยาวชน กับ ศิลปินอยู่ ต้องขออภัยด้วยครับ โทรไปถามฝ่ายประสานงานทราบคร่าวๆว่า ระดับประชาชนทั่วไป เพลงพัดชา หวานเที่ยว เก็บเที่ยว ชนะเลิศ 3หมื่น ที่เหลือลดหลั่นลงมาเท่าไหร่จำไม่ได้ครับ ส่วนระดับนักเรียน ( มัธยม ) เพลง ไม่จำกัดเพลงอะไรก็ได้ ที่ไม่กำหนดอาจเป็นเพราะตัวอย่างจากเมื่อคราว แบงค์กรุงเทพจัดแล้วมีนักเรียนผู้มีความสามารถ ( ระดับมัธยม ) ส่งมาแค่ 2 คน หลายปีมาแล้วหลังจากนี้จะมีการประกวดปี่ในหรือไม่ผมก็ไม่ทราบถ้าตกข่าวไปขอประทานอภัยครับ ส่วนเรื่องรางวัล ชนะเลิศ 1หมื่นบาทครับ ไม่แน่ใจว่าทั้งสองประเภทมีทั้งหมด 4 หรือ 5 รางวัล เพราะทั้งผมเองและผู้ที่ให้ข้อมูลตอนโทรคุยกันนี่ก็ยุ่งกันทั้งคู่ครับ _________________ สยามมิวสิก้า +_+ สังคมดนตรีชาวสยาม |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
fik2004
เข้าร่วม: 31 May 2005 ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ: Wed Jun 08, 2005 12:56 pm เรื่อง: สวัสดี |
|
|
หวัดดีครับพี่ ผมอยากทราบว่า การประกวดเดี่ยวปี่ในครั้งนี้เป็นการประกวดระดับประเทศหรอครับ แล้วจะมีโทรทัศอะไรมาถ่ายป่าว แล้วครู
ปีป เขาจะมาตัดสินช่ายอ่ะป่าวครับ เพราะครูสุนทรที่นิคมซอยแปดเขาบอกอ่ะ ผมก็จะเข้าประกวดประขันเหมือนกันระดับมัธยมต้น แต่ไม่รูจะได้ที่เท่าไหร่ ขอไห้พี่ตอบด้วยนะครับ สวัสดีครับ
คนปี่ บ่งละม _________________ วิทวัฒน์ |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
fik2004
เข้าร่วม: 31 May 2005 ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ: Wed Jun 15, 2005 4:12 pm เรื่อง: |
|
|
--------------------------------------------------------------------------------
4.1 ระนาดเอกในวงปี่พาทย์แบบต่างๆ
วงปี่พาทย์ คือวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีหลักคือ เครื่องเป่าได้แก่ ปี่ และ เครื่องตี โดยแยกออกเป็น เครื่องตีประเภทดำเนินทำนองเช่น ระนาด ฆ้องวง และเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง เป็นต้น
วงปี่พาทย์ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงอันทรงพลัง จึงทำให้วงปี่พาทย์มีบทบาทอยู่ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความเชื่อหรือการประโคม บรรเลงประกอบการแสดงโขนละคร
จากข้อมูลของ อาจารย์วิมาลา ศิริพงษ์ เรื่อง"พัฒนาการปี่พาทย์สมัยรัตนโกสินทร์" ในหนังสือ เพลงดนตรีฉบับพิเศษ ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2537, หน้า 81 เขียนไว้ว่า
"ปี่พาทย์มีความเป็นมาและพัฒนาการอันยาวนานในสังคมไทย ในเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏข้อมูลระบุถึงวงปี่พาทย์ หรือเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์อยู่มากมายทั้งในรูปของ จารึก, วรรณกรรม และ กฏหมาย ในศิลาจารึกวัดพระยืนซึ่งมีอายุราว ก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 ได้ระบุถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์อันได้แก่ ฆ้อง กลอง ปี่ ตะโพน และในศิลาจารึกหลักที่ 8 ก็ปรากฏคำว่า "ดุริยพาท" ซึ่งเป็นคำที่หมายถึง เครื่อง ดนตรีประเภทที่มีเสียงกึกก้องเหมาะแก่การประโคมซึ่งก็คือเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงปี่พาทย์ (ภัทรวดี : 2536 : 7- นอกจากนี้ยังพบคำว่า ปี่พาทย์ฆ้องวง ในกฏหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ซึ่งตราขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยากว่าหนึ่งศตวรรษ (สุจิตต์ :2532 : 128) จากหลักฐานเหล่า นี้อาจกล่าวได้ว่า เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่าที่ประกอบขึ้นเป็น วงปี่พาทย์ ได้มีปรากฏในสังคมไทยมาแล้วก่อนหน้าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏหลักฐานว่าระนาดเอกซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิด เครื่องตีได้เข้าไปประสมวงกับปี่พาทย์เกิดเป็นวงดนตรีที่มักเรียกกันว่า ปี่พาทย์เครื่องห้า ดังภาพจิตรกรรมบนสมุดข่อยเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 23 หรือหลัง พ.ศ.2200 ซึ่งแสดง ภาพวงปี่พาทย์ที่ประกอบไปด้วย ปี่ กลองทัด (ใบเดียว) กลองสองหน้า ตะโพน ฆ้องวง และ ระนาดเอก บรรเลงร่วมกัน (สุจิตต์ : 2532 :129)"
คนปี่บางละมุง  |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
fik2004
เข้าร่วม: 31 May 2005 ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ: Wed Jun 15, 2005 4:23 pm เรื่อง: |
|
|
5) วงปี่พาทย์มอญ
วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคลเช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพดังลายพระ หัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ในหนังสือสาส์นสมเด็จที่กล่าวถึงที่มาของการใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพมี ความว่า
"เรื่องที่ใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้นหม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงตรัสเล่าว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องานสมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินีด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพสิรินทราฯทรงเป็นเชื้อ สายมอญแต่จะเป็นทางไหนหม่อมฉันไม่ทราบเคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคนหนึ่งเรียกว่า "ท้าวทรงกันดาล ทรงมอญ"ว่าเพราะเป็นมอญพระองค์คงจะทราบดีว่าคงเป็นเพราะเหตุ นั้น งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นโดยเป็น เชื้อสายของสมเด็จพระเทพสิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอาอย่างงานพระศพหลวงไป เพิ่มหรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิมแล้วจึงทำตามกันต่อ มาจนพากันเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็น "ศพผู้ดี"เหมือนกับเผาศพต้อง จุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อันที่จริงปี่พาทย์มอญนั้นชาวมอญเขาก็ใช้ทั้งใน งานมงคลและงานศพเหมือนกับปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวา และ ฆ้อง ประสมกันซึ่ง เรียกว่า "บัวลอย" ก็ใช้ทั้งงานศพและงานมงคล"
หนังสือเพลงดนตรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2538 เรื่อง "ปี่พาทย์มอญและ เพลงมอญ" หน้า 55 - 65 เขียนโดย อาจารย์อานันท์ นาคคง ได้กล่าวถึงการแพร่ขยาย และความนิยมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญตามวัดต่างๆไว้ดังนี้
"บุคคลสำคัญซึ่งเป็นตำนานของปี่พาทย์มอญที่สมควรกล่าวถึงมีอยู่ 2 คน คือ ครูสุ่ม เจริญดนตรี และ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ประวัติของครูสุ่ม นั้นค่อนข้างสับสน กล่าวกันว่าท่านเป็นคนมอญที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในราว รัชกาลที่ 5 - 6 ท่านเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเพลงมอญและได้นำฆ้องวงของมอญเข้ามาด้วย ครูสุ่มได้ตั้งบ้านเรือนและสำนักดนตรีอยู่ที่ถนนหลานหลวงตรงกับบริเวณหัวมุมสะพานนางร้องไห้ หรือที่ตั้งของกรมโยธาธิการในปัจจุบัน และได้ถ่ายทอดวิชาการบรรเลง เพลงมอญให้กับนักดนตรีไทยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญคนหนึ่งของแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ตั้งบ้านดนตรีไทยอยู่ละแวกไม่ไกลนักคือตรง "บ้านบาตร" อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ย่านวังบูรพาฯ ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯนั้นนับ ถือครูสุ่มว่าเป็นครูใหญ่ในเชิงปี่พาทย์มอญจึงหมั่นแวะไปมาหาสู่เรียนรู้เพลงกันอย่างสม่ำ เสมอจนต่อมาได้นำเอาความรู้เรื่องเพลงมอญไปขยายความต่ออย่างกว้างขวางโดยได้คิด ประดิษฐ์เพลงและเรียบเรียงเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นใหม่จนเป็นที่นิยมบรรเลงและขับ ร้องในหมู่นักดนตรีไทยรุ่นหลังๆกันสืบต่อมาเช่นเพลงชุดย่ำค่ำมอญที่ท่านเรียบเรียงขึ้น เป็นทางพิเศษมีการขยายเพลงเร็วหน้าเพลงย่ำค่ำขึ้นอีกและทำ "ทางเดี่ยว" สำหรับเครื่อง ดนตรีต่างๆในวงให้แสดงฝีมือกันอย่างถึงอกถึงใจ รวมทั้งการทำ "ทางเปลี่ยน" สำหรับ เพลงสำเนียงมอญอื่นๆอีกจำนวนมากให้มีรสชาติลีลาที่ลึกซึ้งเป็นที่ติดอกติดใจแก่ผู้ฟัง นอกจากนี้ยังมีผู้กล่าวกันอีกว่า ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ นั้น เป็นผู้ริเริ่มการประโคม ปี่พาทย์มอญตามวัดสำคัญๆในกรุงเทพฯ เช่นวัดเทพศิรินทร์และวัดไตรมิตร เป็นต้นโดย การนำเอาเครื่องปี่พาทย์ไทยชนิด ลงรักปิดทองสวยงาม เข้าไปผสมกับเครื่องมอญทำให้ เกิดความนิยมในการเอาปี่พาทย์มอญไปบรรเลงตามวัดต่างๆ อย่างแพร่หลายในยุคต่อมา"
5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
ประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และ เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่ม ระนาดทุ้ม และ ฆ้องมอญวงเล็ก
5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก
คนปี่บางละมุง  _________________ วิทวัฒน์ |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
fik2004
เข้าร่วม: 31 May 2005 ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ: Wed Jun 15, 2005 4:24 pm เรื่อง: |
|
|
5) วงปี่พาทย์มอญ
วงปี่พาทย์มอญนั้นโดยแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในโอกาสต่างๆทั้งงานมงคล เช่นงานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรีและงานอวมงคลเช่นงานศพ การที่วงปี่ พาทย์มอญเป็นที่นิยมบรรเลงเฉพาะในงานศพในปัจจุบันก็เพราะว่าท่วงทำนองเพลง และการบรรเลงมีสำเนียงและลีลาที่โศกเศร้าเข้ากับบรรยากาศของงานศพดังลายพระ หัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงมีถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงเดชานุภาพ ในหนังสือสาส์นสมเด็จที่กล่าวถึงที่มาของการใช้วงปี่พาทย์มอญประโคมในงานศพมี ความว่า
"เรื่องที่ใช้ปี่พาทย์มอญในงานศพนั้นหม่อมฉันเคยได้ยินสมเด็จพระพุทธเจ้า หลวงตรัสเล่าว่าปี่พาทย์มอญทำในงานหลวงครั้งแรกเมื่องานสมเด็จพระเทพสิรินทรา บรมราชินีด้วยทูลกระหม่อมทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระเทพสิรินทราฯทรงเป็นเชื้อ สายมอญแต่จะเป็นทางไหนหม่อมฉันไม่ทราบเคยได้ยินแต่ชื่อพระญาติคนหนึ่งเรียกว่า "ท้าวทรงกันดาล ทรงมอญ"ว่าเพราะเป็นมอญพระองค์คงจะทราบดีว่าคงเป็นเพราะเหตุ นั้น งานพระศพพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้มีปี่พาทย์มอญเพิ่มขึ้นโดยเป็น เชื้อสายของสมเด็จพระเทพสิรินทราฯ คนภายนอกอาจจะเอาอย่างงานพระศพหลวงไป เพิ่มหรือไปหาเฉพาะปี่พาทย์มอญมาทำในงานศพโดยไม่รู้เหตุเดิมแล้วจึงทำตามกันต่อ มาจนพากันเข้าใจว่างานศพต้องมีปี่พาทย์มอญจึงจะเป็น "ศพผู้ดี"เหมือนกับเผาศพต้อง จุดพลุญี่ปุ่นกันแพร่หลายอยู่คราวหนึ่ง อันที่จริงปี่พาทย์มอญนั้นชาวมอญเขาก็ใช้ทั้งใน งานมงคลและงานศพเหมือนกับปี่พาทย์ไทย กลองคู่กับปี่ชวา และ ฆ้อง ประสมกันซึ่ง เรียกว่า "บัวลอย" ก็ใช้ทั้งงานศพและงานมงคล"
หนังสือเพลงดนตรี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2538 เรื่อง "ปี่พาทย์มอญและ เพลงมอญ" หน้า 55 - 65 เขียนโดย อาจารย์อานันท์ นาคคง ได้กล่าวถึงการแพร่ขยาย และความนิยมในการบรรเลงปี่พาทย์มอญตามวัดต่างๆไว้ดังนี้
"บุคคลสำคัญซึ่งเป็นตำนานของปี่พาทย์มอญที่สมควรกล่าวถึงมีอยู่ 2 คน คือ ครูสุ่ม เจริญดนตรี และ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ประวัติของครูสุ่ม นั้นค่อนข้างสับสน กล่าวกันว่าท่านเป็นคนมอญที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในราว รัชกาลที่ 5 - 6 ท่านเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญเพลงมอญและได้นำฆ้องวงของมอญเข้ามาด้วย ครูสุ่มได้ตั้งบ้านเรือนและสำนักดนตรีอยู่ที่ถนนหลานหลวงตรงกับบริเวณหัวมุมสะพานนางร้องไห้ หรือที่ตั้งของกรมโยธาธิการในปัจจุบัน และได้ถ่ายทอดวิชาการบรรเลง เพลงมอญให้กับนักดนตรีไทยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งเป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญคนหนึ่งของแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ตั้งบ้านดนตรีไทยอยู่ละแวกไม่ไกลนักคือตรง "บ้านบาตร" อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ย่านวังบูรพาฯ ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯนั้นนับ ถือครูสุ่มว่าเป็นครูใหญ่ในเชิงปี่พาทย์มอญจึงหมั่นแวะไปมาหาสู่เรียนรู้เพลงกันอย่างสม่ำ เสมอจนต่อมาได้นำเอาความรู้เรื่องเพลงมอญไปขยายความต่ออย่างกว้างขวางโดยได้คิด ประดิษฐ์เพลงและเรียบเรียงเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นใหม่จนเป็นที่นิยมบรรเลงและขับ ร้องในหมู่นักดนตรีไทยรุ่นหลังๆกันสืบต่อมาเช่นเพลงชุดย่ำค่ำมอญที่ท่านเรียบเรียงขึ้น เป็นทางพิเศษมีการขยายเพลงเร็วหน้าเพลงย่ำค่ำขึ้นอีกและทำ "ทางเดี่ยว" สำหรับเครื่อง ดนตรีต่างๆในวงให้แสดงฝีมือกันอย่างถึงอกถึงใจ รวมทั้งการทำ "ทางเปลี่ยน" สำหรับ เพลงสำเนียงมอญอื่นๆอีกจำนวนมากให้มีรสชาติลีลาที่ลึกซึ้งเป็นที่ติดอกติดใจแก่ผู้ฟัง นอกจากนี้ยังมีผู้กล่าวกันอีกว่า ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ นั้น เป็นผู้ริเริ่มการประโคม ปี่พาทย์มอญตามวัดสำคัญๆในกรุงเทพฯ เช่นวัดเทพศิรินทร์และวัดไตรมิตร เป็นต้นโดย การนำเอาเครื่องปี่พาทย์ไทยชนิด ลงรักปิดทองสวยงาม เข้าไปผสมกับเครื่องมอญทำให้ เกิดความนิยมในการเอาปี่พาทย์มอญไปบรรเลงตามวัดต่างๆ อย่างแพร่หลายในยุคต่อมา"
5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
ประกอบด้วย ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และ เครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่ม ระนาดทุ้ม และ ฆ้องมอญวงเล็ก
5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก
คนปี่บางละมุง  _________________ วิทวัฒน์ |
|
ขึ้นไปข้างบน |
|
 |
|